5 โรคที่พบบ่อยในแมว

Last updated: 1 พ.ค. 2565  |  298 จำนวนผู้เข้าชม  | 

5 โรคที่พบบ่อยในแมว

ทาสหลายคนที่เพิ่งเริ่มเลี้ยงแมว หรือเลี้ยงมานานแล้ว ยังไม่รู้สาเหตุที่แมวเราเปลี่ยนไป ซึม หรือมีอาการไม่กินอาหาร ลองสังเกตุแมวของคุณดูว่ามีอาการตามนี้ไหม ถ้ามีให้รีบปรึกษาแพทย์ด่วน

โรคไข้หัดแมว หรือ โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมวเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มพาร์โวไวรัส (Parvovirus)

ข้อสังเกตุ

- เกิดขึ้นได้กับลูกแมวทุกช่วงวัย แต่ส่วนมากจะพบได้ในลูกแมว (อายุน้อยกว่า 1 ปี)
- เชื้อสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง
- แหล่งเชื้อโรค คือ สิ่งของที่ปนเปื้อนอุจาระของแมวที่ป่วย เชื้อจะถูกขับออกโดยอุจาระ
- สามารถติดต่อได้จากแมวสู่แมว
- ลูกแมวเกิดใหม่ติดเชื้อ อาจเสียชีวิตภายใน 1 อาทิตย์
- อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75%

อาการ 

ซึม มีไข้ ตัวสั่น เบื่ออาหาร มีสภาวะขาดน้ำ อาเจียนหรือท้องเสีย หรือ แท้ง


การป้องกันและการรักษา

ทำวัคซีนให้แมว รักษาตามอาการ หรือให้ยาปฏิชีวนะ


โรคหวัดแมว หรือ โรคระบบทางเดินหายใจในแมว สามารถเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลากหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่โรคนี้มักเกิดจาก ไวรัสสำคัญ 2 ชนิด คือ ไวรัสเฮอร์ปี  (FHV: Feline Herpes Virus) และ ไวรัสแคลิซี  (FCV: Feline Calici Virus)

ข้อสังเกตุ

- มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ติดต่อได้ผ่านกิจกรรมระหว่างแมว (เช่น การแต่งขนให้กัน) 
- ระบาดสูงในอัตรา 40 - 50% อัตราการเสียชีวิต (ในลูกแมว) สูงถึง 75%
- แมวที่ติดเชื้อ (อัตรา 80%) เป็นพาหะ
- แหล่งเชื้อโรค คือ น้ำมูก น้ำตา และน้ำลาย

อาการ 

มีน้ำมูก น้ำตาใสๆ (ซึ่งต่อมาจะข้นเหนียว มีหนอง) มีอาการ ซึม จาม มีไข้ เบื่ออาหาร ขนหยาบ เยื่อตาและเยื่อจมูกอักเสบ บางตัวมีน้ำลายเยอะ มีแผลหลุมในปาก หรือจากการแท้ง


การป้องกันและการรักษา

ทำวัคซีน ดูแลสุขอนามัย ความสะอาด ควรแยกเลี้ยงลูกแมวจนกว่าจะทำวัคซีนแล้ว (อย่างน้อย 3 อาทิตย์) ถ้าเป็นแล้วให้รักษาตามอาการ ให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำมูก ยากระตุ้นความอยากอาหาร

 

 

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อมาจากการติดเชื้อ “โคโรน่าไวรัสในแมว (FCoV: Feline Coronavirus)”

ข้อสังเกตุ

- เชื้อติดต่อทางน้ำลาย (อาจได้รับเชื้อทาง ตา จมูก และปาก) และผ่านทางอุจาระ
- แหล่งเชื้อโรค คือ สิ่งของที่ปนเปื้อน (โดยเฉพาะ ชามอาหาร ที่นอน และกระบะทราย)
- มักเกิดในแมวอายุตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี
- ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยา


อาการ

มีหลักๆอยู่ 2 แบบ

แบบเปียก -ซึม มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ท้องเสีย หายใจลำบาก ท้องบวม
แบบแห้ง - ซึม มีไข้ น้ำหนักลด โลหิตจาง มักเกิดการอักเสบแบบเรื้อรัง อาการขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ


การป้องกันและการรักษา

ทำวัคซีน ดูแลสุขอนามัย ความสะอาด ต้องรักษาตามอาการ (รักษาหายได้ยาก) ให้ยาลดการอักเสบ


โรคมะเร็งเม็ดเลือดในแมวเกิดจาก “เรโทรไวรัส (Retrovirus)" ซึ่งอยู่ในกลุ่มเชื้อไวรัสแบบเดียวกับ “เอชไอวี (HIV)” แต่ไม่สามารถแพร่สู่มนุษย์ได้

ข้อสังเกตุ

- ส่งผลโดยตรงกับระบบภูมิคุ้มกันและไขกระดูก
- เชื้อเป็นบ่อเกิดของมะเร็งหลากหลายรูปแบบ
- เชื้อติดต่อทางน้ำลาย (อาจได้รับเชื้อทาง ตา จมูก และปาก)และยังติดต่อผ่านทางรก น้ำนม และการให้เลือด
- มักเกิดกับลูกแมว แมวที่อายุยังน้อย หรือแมวที่ไม่แข็งแรง

อาการ

ร่างกายสุดโทรม ป่วยง่าย ป่วยเรื้อรัง พบเจอโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวลดลง หรือเกล็ดเลือดผิดปกติ

การป้องกันและการรักษา

ทำวัคซีน เลี้ยงแมวระบบปิด รักษาตามอาการ (ทำได้เพียงแค่ยืดอายุ)ให้ยาปฏิชีวนะ (เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน)

 

โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัส “นิวโรโทรปิค (Neurotropic Virus)” ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบประสาท เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ในสัตวเลือดอุ่น (Warm-Blooded Animals) ทุกชนิด ส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงสุนัขแต่จริงๆแล้วโรคนี้ก็อันตรายมากในแมวเช่นกัน

ข้อสังเกตุ

- เชื้อติดต่อผ่านน้ำลาย (เช่น การโดนกัด ข่วน หรือการมีแผล)
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด (Mammals) ติดได้ (รวมทั้งมนุษย์)
- สัตว์ที่ป่วยมักเสียชีวิตภายใน 10 วัน


อาการ

แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ

ระยะเริ่มต้น ซึม มีไข้ ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
ระยะตื่นเต้น กระวนกระวาย หงุดหงิด พฤติกรรมเปลี่ยนไป
ระยะอัมพาต การทรงตัวผิดปกติ กลืนลำบาก เป็นอัมพาต น้ำลายไหลเยอะ มีอาการคล้ายกลัวน้ำมากๆ

การป้องกันและการรักษา

ทำการกระตุ้นวัคซีนเป็นประจำทุกปี เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้

 

 

ที่มา: 

https://intrend.trueid.net/

https://www.pinterest.com/pin/324681454390866531/

https://www.istockphoto.com/

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้